.....การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์และนำมาตีพิมพ์ในงานวิจัยครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1821 ครับ จากศาตราจารย์ทางชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วิลเลี่ยม บัคแลนด์ (William Buckland) โดยซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวนี้ก็คือ เมกกะโลซอรัส (Megalosaurus)
ไดโนเสาร์ตัวแรกที่มีการค้นพบฟอสซิลอย่างเป็นทางการ
ส่วนฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวที่สองของโลกที่มีการค้นพบก็คือ อิกัวโนดอน (Iguanodon) ครับ ค้นพบโดย แมรี แอน แมนเทล (Mary-Ann Mantell) ภรรยาของ กิเดียน แมนเทล (Gideon Mantell) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ส่วนชื่ออิกัวโนดอน นั้น กิเดียน ได้แรงบันดาลใจมาจากกระดูกของกิ้งก่าอิกัวน่า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับฟอสซิลที่ค้นพบ ก็เลยตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนซะเลย
อิกัวโนดอน
.....จากนั้นมาก็มีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและเก็บข้อมูลกันมาอย่างยาวนานจากนักวิชาการ ทำให้เรารู้จักกับไดโนเสาร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ถิ่นที่อยู่อาศัย อาหาร และลักษณะทางกายภาพ ไดโนเสาร์ เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกก็เมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค (Jurassic Pak) เข้าฉายเมื่อปี ค.ศ. 1993 นี่ละครับ จากหนังเรื่องนี้เองทำให้ไดโนเสาร์ที่เคยโลดแล่นอยู่แต่ในหนังสือสารานุกรม หนังสือความรู้ต่างๆ หนังสือระบายสี เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กับ แร็พเตอร์ (Velociraptor) นี่กลายเป็นดาวเด่นในแวดวงไดโนเสาร์ขึ้นมาเลยทีเดียวครับ.....เกริ่นประวัติไดโนเสาร์มาซะพักใหญ่ มาเข้าเรื่องราวที่จะนำเสนอในบทความนี้กันดีกว่าครับ สำหรับคราวนี้จะพาไปรู้จักกับ 10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อ (Theropods, Carnivores) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่เคยปรากฏตัวโลดแล่นอยู่บนโลกนี้เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว เรามาเริ่มที่อันดับสิบเลยแล้วกันครับ
อิกัวโนดอน
.....จากนั้นมาก็มีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและเก็บข้อมูลกันมาอย่างยาวนานจากนักวิชาการ ทำให้เรารู้จักกับไดโนเสาร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ถิ่นที่อยู่อาศัย อาหาร และลักษณะทางกายภาพ ไดโนเสาร์ เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกก็เมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค (Jurassic Pak) เข้าฉายเมื่อปี ค.ศ. 1993 นี่ละครับ จากหนังเรื่องนี้เองทำให้ไดโนเสาร์ที่เคยโลดแล่นอยู่แต่ในหนังสือสารานุกรม หนังสือความรู้ต่างๆ หนังสือระบายสี เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กับ แร็พเตอร์ (Velociraptor) นี่กลายเป็นดาวเด่นในแวดวงไดโนเสาร์ขึ้นมาเลยทีเดียวครับ.....เกริ่นประวัติไดโนเสาร์มาซะพักใหญ่ มาเข้าเรื่องราวที่จะนำเสนอในบทความนี้กันดีกว่าครับ สำหรับคราวนี้จะพาไปรู้จักกับ 10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อ (Theropods, Carnivores) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่เคยปรากฏตัวโลดแล่นอยู่บนโลกนี้เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว เรามาเริ่มที่อันดับสิบเลยแล้วกันครับ
อันดับที่ 10 อัลโลซอรัส กับ ทอร์โวซอรัส (Allosaurus, Torvosaurus)
.....สำหรับอันดับที่ 10 นี้ มีผู้เข้ารอบด้วยกัน 2 ชนิด ก็คือ อัลโลซอรัส และ ทอร์โวซอรัสครับ เรามาดูข้อมูลกันทีละตัวเลยครับ เริ่มจาก อัลโลซอรัส ก่อนเลย
.....อัลโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อนครับ อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค ถูกค้นพบและนำมาตีพิมพ์เป็นงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.1877 ครับ จากนักบรรพชีวินวิทยา ออธเนียล ชาร์ลส์ มาร์ช (Othniel Charles Marsh) ลักษณะทางกายภาพของเจ้าอัลโลซอรัสนั้นมีความยาววัดจากหัวถึงหางได้ประมาณ 12 เมตร(อันนี้นับจากตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบนะครับ) น้ำหนักกว่า 2 ตัน ฟันยาวแหลมคม ตามแบบฉบับไดโนเสาร์นักล่าทั่วไป หางยาว ลำตัวเหมือนกิ้งก่า มีนิ้วข้างละสามนิ้วพร้อมกรงเล็บ กินสัตว์กินพืช (Sauropods, Herbivores) เป็นอาหาร จากการศึกษาพบว่า อัลโลซอรัส มีพฤติกรรมเป็นสัตว์สังคมครับ อยู่เป็นฝูงและล่าเป็นฝูง และร่วมกันกินเหยื่อ ซึ่งต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าชนิดอื่นที่มักจะกินและล่าโดยลำพัง คร่าวๆ ครับสำหรับเจ้าอัลโลซอรัสนี้ภาพเปรียบเทียบขนาดของทอร์โวซอรัสกับมนุษย์
.....ทอร์โวซอรัส ก็เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าอีกชนิดครับ ที่อาศัยร่วมยุคกับเจ้าอัลโลซอรัส ในยุคจูราสสิคตอนปลาย มีการค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1972 ที่รัฐโคโลราโด ประเทศอเมริกา โดย เจมส์ เจนเซ่น (James A. Jensen) และ เคนเนธ แสต็ดแมน (Kenneth Stadtman) ในปัจจุบันมีการพบฟอสซิลทั้งอเมริการเหนือและยุโรปครับ รูปร่างเจ้ากิ้งก่าตัวนี้มีความยาววัดจากหัวถึงหางประมาณ 12 เมตร ลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่ก็ใกล้เคียงกันกับเพื่อนนักล่าร่วมอันดับของมันครับครับ นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ของผู้ที่เข้ารอบครองอันดับ 10 ทั้ง 2 ตัว เรามาต่อกันที่อันดับต่อไปเลยครับ
อันดับที่ 9 ไทรันโนไททัน (Tyranotitan)
.....สำหรับอันดับที่ 9 ผู้ที่เข้ารอบก็คือเจ้า ไทรันโนไททัน ครับ เป็นไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้ออีกชนิดหนึ่งที่เคยครองผืนดินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยผู้ที่ค้นพบคือ เฟอร์นันโด โนวาส (Fernando E.Novas) และลูกทีมของเขา สำหรับไทรันโนไททัน มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 121 ล้านปีก่อน หรือในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้นครับ จากการที่เพิ่งมีการค้นพบฟอสซิลได้มาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ทำให้ยังไม่ทราบข้อมูลของมันมากเท่าไหร่ครับ หากวัดขนาดความยาวจากหัวถึงปลายหางแล้ว ไทรันโนไททันมีความยาวประมาณ 12.2 เมตรครับ ด้วยความยาวขนาดนี้ ทำให้สัตว์กินเนื้อนักล่าชนิดนี้ครอบครองอันดับที่ 9 ได้อย่างสบายๆ เลยครับ
อันดับที่ 8 มาพิวซอรัส (Mapusaurus)
.....มาพิวซอรัสนั้นอาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี ค.ศ.1997 จากโครงการความร่วมมือระหว่างอาร์เจนตินาและแคนาดา มาพิวซอรัสนั้นมีความยาวประมาณ 12.6 เมตรครับ เฉือนชนะไทรันโนไททันไปอย่างเฉียดฉิว
อันดับที่ 7 ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex)
.....และแล้วอันดับนี้ก็มาถึงไดโนเสาร์ตัวโปรดของเด็กๆ และใครอีกหลายคนครับ กล่าวได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลก ด้วยอิมเมจที่ดู ดุดัน น่าเกรงขาม และทรงพลัง ทำให้เจ้าตัวนี้เข้ามาอยู่ที่อันดับ 7 ไปอย่างไม่ยากเย็นครับ มีการนำเอาคาแร็กเตอร์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ก็หลายครั้ง แต่ที่โด่งดังที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่อง จูราสสิค พาร์ค นั่นเองครับ เรามาทำความรู้จักกับ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กันเลยครับ ทีเร็กซ์นั้นมีการค้นพบกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1905 ที่อเมริกาและมีการค้นพบกันมาเป็นระยะ มีการค้นพบซากฟอสซิลแบบสมบูรณ์ก็หลายครั้งเช่นกันครับ ทีเร็กซ์นั้นอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น หรือประมาณ 75 ล้านปีก่อน มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 12.8 เมตรครับ ด้วยกะโหลกที่ใหญ่ ขากรรไกรกว้างกว่าเมตร ทำให้ทีเร็กซ์นั้นดูเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามทีเดียว แรกเริ่มเดิมทีนั้นคิดกันว่า ทีเร็กซ์ เป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ทฤษฎีนั้นก็ได้ถูกลบล้างไปตามครรลองของวิทยาศาสตร์ เมื่อมีทฤษฎีใหม่ๆ พร้อมด้วยหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์ นั้นไม่ได้เป็นสัตว์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดอีกต่อไปเมื่อเจอเข้ากับผู้ท้าชิงรายใหม่ๆ ที่มีการค้นพบกัน และทฤษฎีที่ว่าทีเร็กซ์นั้นเป็นสัตว์นักล่า ก็โดนทฤษฎีที่กล่าวว่า จริงๆ แล้วมันอาจจะเป็นเพียงแค่สัตว์กินซากเท่านั้นก็เป็นได้ โดยมีการนำตัวอย่างซากฟอสซิลมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องเหล่านี้ และก็พบกับข้อมูลบางอย่างที่เราไม่เคยรู้กันเลยครับ ว่าทีเร็กซ์นั้น ไม่น่าจะเป็นสัตว์นักล่าที่วิ่งไล่จับเหยื่อเหมือนอย่างที่เราเห็นในภาพยนตร์ จากการวิจัยพบว่า กระดูกขาของทีเร็กซ์และจำนวนมัดกล้ามนั้น ไม่น่าเพียงพอต่อการรับน้ำหนักอันมหาศาลของตัวมันเองในการที่จะวิ่งไล่จับเหยื่อ หรือพูดง่ายๆ ว่า ขามันไม่แข็งแรงพอนั่นเองครับ อีกประการหนึ่งก็คือ มือของทีเร็กซ์เองนั้น แน่นอนว่าใช้ประเทศในการจับยึดไม่ได้แน่นอน เพราะขนาดอันเล็กมาก จนแทบจะใช้ทำอะไรไม่ได้เมื่อเทียบกับขนาดของตัวมันเอง มีเพียงแต่กราม ขากรรไกรและฟันอันแหลมคมเท่านั้นที่เหมาะจะเป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองครับ ทำให้เกิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมาว่า ทีเร็กซ์ นั้นเป็นแค่สัตว์กินเนื้อหรือกินซากเท่านั้นครับ ซึ่งอาจคล้ายกับหมาไนในปัจจุบัน และน่าจะซุ่มโจมตีเหยื่อมากกว่าที่จะวิ่งไล่ให้เหนื่อยแรง (จากภาพยนตร์ทีมีตัวละคร ทีเร็กซ์ ก็มักจะมีฉากที่ว่า ทีเร็กซ์พุ่งออกมาจากป่า ไม่ได้วิ่งมาไล่เหยื่อเป็นกิโลๆ เลยแฮะ) ครับ...นี่ก็เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่มีการกล่าวถึงทีเร็กซ์ในอีกรูปแบบที่เราไม่ค่อยได้เห็นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มาจากการศึกษาและวิจัย โอกาสที่จะนำหลักฐานและข้อมูลมาหักล้างกันนั้นก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ หากมีหลักฐานหรือข้อมูลชิ้นใหม่ๆ มานำเสนอกัน สำหรับตอนที่ 1 นี้ก็คงจะเอาไว้แค่นี้ก่อนครับ ร่ายมาซะยาวเลย อาจจะอ่านกันเมื่อยเล็กน้อย สำหรับตอนต่อไปจะนำเสนอให้กระชับลงซักหน่อยครับ ....คอยติดตามต่อ 10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดกันไปในตอนที่ 2 นะครับ
อันดับที่ 9 ไทรันโนไททัน (Tyranotitan)
.....สำหรับอันดับที่ 9 ผู้ที่เข้ารอบก็คือเจ้า ไทรันโนไททัน ครับ เป็นไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้ออีกชนิดหนึ่งที่เคยครองผืนดินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยผู้ที่ค้นพบคือ เฟอร์นันโด โนวาส (Fernando E.Novas) และลูกทีมของเขา สำหรับไทรันโนไททัน มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 121 ล้านปีก่อน หรือในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้นครับ จากการที่เพิ่งมีการค้นพบฟอสซิลได้มาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ทำให้ยังไม่ทราบข้อมูลของมันมากเท่าไหร่ครับ หากวัดขนาดความยาวจากหัวถึงปลายหางแล้ว ไทรันโนไททันมีความยาวประมาณ 12.2 เมตรครับ ด้วยความยาวขนาดนี้ ทำให้สัตว์กินเนื้อนักล่าชนิดนี้ครอบครองอันดับที่ 9 ได้อย่างสบายๆ เลยครับ
อันดับที่ 8 มาพิวซอรัส (Mapusaurus)
.....มาพิวซอรัสนั้นอาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี ค.ศ.1997 จากโครงการความร่วมมือระหว่างอาร์เจนตินาและแคนาดา มาพิวซอรัสนั้นมีความยาวประมาณ 12.6 เมตรครับ เฉือนชนะไทรันโนไททันไปอย่างเฉียดฉิว
อันดับที่ 7 ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex)
.....และแล้วอันดับนี้ก็มาถึงไดโนเสาร์ตัวโปรดของเด็กๆ และใครอีกหลายคนครับ กล่าวได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลก ด้วยอิมเมจที่ดู ดุดัน น่าเกรงขาม และทรงพลัง ทำให้เจ้าตัวนี้เข้ามาอยู่ที่อันดับ 7 ไปอย่างไม่ยากเย็นครับ มีการนำเอาคาแร็กเตอร์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ก็หลายครั้ง แต่ที่โด่งดังที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่อง จูราสสิค พาร์ค นั่นเองครับ เรามาทำความรู้จักกับ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กันเลยครับ ทีเร็กซ์นั้นมีการค้นพบกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1905 ที่อเมริกาและมีการค้นพบกันมาเป็นระยะ มีการค้นพบซากฟอสซิลแบบสมบูรณ์ก็หลายครั้งเช่นกันครับ ทีเร็กซ์นั้นอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น หรือประมาณ 75 ล้านปีก่อน มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 12.8 เมตรครับ ด้วยกะโหลกที่ใหญ่ ขากรรไกรกว้างกว่าเมตร ทำให้ทีเร็กซ์นั้นดูเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามทีเดียว แรกเริ่มเดิมทีนั้นคิดกันว่า ทีเร็กซ์ เป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ทฤษฎีนั้นก็ได้ถูกลบล้างไปตามครรลองของวิทยาศาสตร์ เมื่อมีทฤษฎีใหม่ๆ พร้อมด้วยหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์ นั้นไม่ได้เป็นสัตว์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดอีกต่อไปเมื่อเจอเข้ากับผู้ท้าชิงรายใหม่ๆ ที่มีการค้นพบกัน และทฤษฎีที่ว่าทีเร็กซ์นั้นเป็นสัตว์นักล่า ก็โดนทฤษฎีที่กล่าวว่า จริงๆ แล้วมันอาจจะเป็นเพียงแค่สัตว์กินซากเท่านั้นก็เป็นได้ โดยมีการนำตัวอย่างซากฟอสซิลมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องเหล่านี้ และก็พบกับข้อมูลบางอย่างที่เราไม่เคยรู้กันเลยครับ ว่าทีเร็กซ์นั้น ไม่น่าจะเป็นสัตว์นักล่าที่วิ่งไล่จับเหยื่อเหมือนอย่างที่เราเห็นในภาพยนตร์ จากการวิจัยพบว่า กระดูกขาของทีเร็กซ์และจำนวนมัดกล้ามนั้น ไม่น่าเพียงพอต่อการรับน้ำหนักอันมหาศาลของตัวมันเองในการที่จะวิ่งไล่จับเหยื่อ หรือพูดง่ายๆ ว่า ขามันไม่แข็งแรงพอนั่นเองครับ อีกประการหนึ่งก็คือ มือของทีเร็กซ์เองนั้น แน่นอนว่าใช้ประเทศในการจับยึดไม่ได้แน่นอน เพราะขนาดอันเล็กมาก จนแทบจะใช้ทำอะไรไม่ได้เมื่อเทียบกับขนาดของตัวมันเอง มีเพียงแต่กราม ขากรรไกรและฟันอันแหลมคมเท่านั้นที่เหมาะจะเป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองครับ ทำให้เกิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมาว่า ทีเร็กซ์ นั้นเป็นแค่สัตว์กินเนื้อหรือกินซากเท่านั้นครับ ซึ่งอาจคล้ายกับหมาไนในปัจจุบัน และน่าจะซุ่มโจมตีเหยื่อมากกว่าที่จะวิ่งไล่ให้เหนื่อยแรง (จากภาพยนตร์ทีมีตัวละคร ทีเร็กซ์ ก็มักจะมีฉากที่ว่า ทีเร็กซ์พุ่งออกมาจากป่า ไม่ได้วิ่งมาไล่เหยื่อเป็นกิโลๆ เลยแฮะ) ครับ...นี่ก็เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่มีการกล่าวถึงทีเร็กซ์ในอีกรูปแบบที่เราไม่ค่อยได้เห็นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มาจากการศึกษาและวิจัย โอกาสที่จะนำหลักฐานและข้อมูลมาหักล้างกันนั้นก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ หากมีหลักฐานหรือข้อมูลชิ้นใหม่ๆ มานำเสนอกัน สำหรับตอนที่ 1 นี้ก็คงจะเอาไว้แค่นี้ก่อนครับ ร่ายมาซะยาวเลย อาจจะอ่านกันเมื่อยเล็กน้อย สำหรับตอนต่อไปจะนำเสนอให้กระชับลงซักหน่อยครับ ....คอยติดตามต่อ 10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดกันไปในตอนที่ 2 นะครับ
5 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับบทความดีดีแบบนี้
ขอบคุณที่เข้ามารับชมครับ ^^
ดีมากๆเลยค่ะ
ถึงจะไม่รู้จักหลายตัวแต่ก็รู้ว่าไทรันโนจังน่ะแพ้สไปโนชัวเฮ้อๆๆๆ
ขอบคุณมากครับ ในใจแอบเชียร์ สไปโนซอ
แสดงความคิดเห็น