Ads by Adyim

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลก : ตอนที่ 1

.....หากจะกล่าวย้อนหลังไปซักหลายร้อยล้านปีมาแล้ว ในสมัยที่โลกยังเป็นยุคโบราณยังไม่มีมนุษย์กำเนิดขึ้นมา มีสัตว์อยู่ประเภทหนึ่งที่ครองโลกอยู่ ใช่แล้วครับ เจ้าสัตว์ที่ว่านี่ก็คือ ไดโนเสาร์นั่นเอง คำว่า “ไดโนเสาร์” นั้นมีที่มาจากภาษากรีกสองคำครับ คือ ไดโนส (Deinos) ที่ว่าแปล ทรงพลังและน่าเกรงขาม กับ ซอโรส (Sauros) ที่แปลว่า กิ้งก่า นั่นเองครับ ส่วนคำว่า ไดโนซอร์ (Dinosaur) หรือไดโนเสาร์ นั้นถูกตั้งโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ริชาร์ด โอเว่น (Richard Owen) เมื่อปี ค..1942 ครับ การค้นพบไดโนเสาร์นั้นมีมานับพันปีแล้วครับ หากแต่เราเพิ่งมารู้จักกับไดโนเสาร์ว่ามันเป็นสัตว์แบบไหน กินอะไรเป็นอาหาร อาศัยอยู่อย่างไร ก็เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี่เอง ซากกระดูกฟอสซิลของไดโนเสาร์เอง นี่ก็เป็นที่มาของสัตว์ในจินตนาการอย่างเช่น มังกรนั่นเองครับ
.....การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์และนำมาตีพิมพ์ในงานวิจัยครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ ค..1821 ครับ จากศาตราจารย์ทางชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วิลเลี่ยม บัคแลนด์ (William Buckland) โดยซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวนี้ก็คือ เมกกะโลซอรัส (Megalosaurus)
ไดโนเสาร์ตัวแรกที่มีการค้นพบฟอสซิลอย่างเป็นทางการ
ส่วนฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวที่สองของโลกที่มีการค้นพบก็คือ อิกัวโนดอน (Iguanodon) ครับ ค้นพบโดย แมรี แอน แมนเทล (Mary-Ann Mantell) ภรรยาของ กิเดียน แมนเทล (Gideon Mantell) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ส่วนชื่ออิกัวโนดอน นั้น กิเดียน ได้แรงบันดาลใจมาจากกระดูกของกิ้งก่าอิกัวน่า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับฟอสซิลที่ค้นพบ ก็เลยตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนซะเลย
 อิกัวโนดอน

.....จากนั้นมาก็มีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและเก็บข้อมูลกันมาอย่างยาวนานจากนักวิชาการ ทำให้เรารู้จักกับไดโนเสาร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ถิ่นที่อยู่อาศัย อาหาร และลักษณะทางกายภาพ ไดโนเสาร์ เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกก็เมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค
(Jurassic Pak) เข้าฉายเมื่อปี ค.. 1993 นี่ละครับ จากหนังเรื่องนี้เองทำให้ไดโนเสาร์ที่เคยโลดแล่นอยู่แต่ในหนังสือสารานุกรม หนังสือความรู้ต่างๆ หนังสือระบายสี เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กับ แร็พเตอร์ (Velociraptor) นี่กลายเป็นดาวเด่นในแวดวงไดโนเสาร์ขึ้นมาเลยทีเดียวครับ.....เกริ่นประวัติไดโนเสาร์มาซะพักใหญ่ มาเข้าเรื่องราวที่จะนำเสนอในบทความนี้กันดีกว่าครับ สำหรับคราวนี้จะพาไปรู้จักกับ 10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อ (Theropods, Carnivores) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่เคยปรากฏตัวโลดแล่นอยู่บนโลกนี้เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว เรามาเริ่มที่อันดับสิบเลยแล้วกันครับ


อันดับที่ 10 อัลโลซอรัส กับ ทอร์โวซอรัส (Allosaurus, Torvosaurus)
.....สำหรับอันดับที่
10 นี้ มีผู้เข้ารอบด้วยกัน 2 ชนิด ก็คือ อัลโลซอรัส และ ทอร์โวซอรัสครับ เรามาดูข้อมูลกันทีละตัวเลยครับ เริ่มจาก อัลโลซอรัส ก่อนเลย
อัลโลซอรัสขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์

.....อัลโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อนครับ อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค ถูกค้นพบและนำมาตีพิมพ์เป็นงานวิจัยเมื่อปี ค..1877 ครับ จากนักบรรพชีวินวิทยา ออธเนียล ชาร์ลส์ มาร์ช (Othniel Charles Marsh) ลักษณะทางกายภาพของเจ้าอัลโลซอรัสนั้นมีความยาววัดจากหัวถึงหางได้ประมาณ 12 เมตร(อันนี้นับจากตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบนะครับ) น้ำหนักกว่า 2 ตัน ฟันยาวแหลมคม ตามแบบฉบับไดโนเสาร์นักล่าทั่วไป หางยาว ลำตัวเหมือนกิ้งก่า มีนิ้วข้างละสามนิ้วพร้อมกรงเล็บ กินสัตว์กินพืช (Sauropods, Herbivores) เป็นอาหาร จากการศึกษาพบว่า อัลโลซอรัส มีพฤติกรรมเป็นสัตว์สังคมครับ อยู่เป็นฝูงและล่าเป็นฝูง และร่วมกันกินเหยื่อ ซึ่งต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าชนิดอื่นที่มักจะกินและล่าโดยลำพัง คร่าวๆ ครับสำหรับเจ้าอัลโลซอรัสนี้ภาพเปรียบเทียบขนาดของทอร์โวซอรัสกับมนุษย์
.....ทอร์โวซอรัส ก็เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าอีกชนิดครับ ที่อาศัยร่วมยุคกับเจ้าอัลโลซอรัส ในยุคจูราสสิคตอนปลาย มีการค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค..1972 ที่รัฐโคโลราโด ประเทศอเมริกา โดย เจมส์ เจนเซ่น (James A. Jensen) และ เคนเนธ แสต็ดแมน (Kenneth Stadtman) ในปัจจุบันมีการพบฟอสซิลทั้งอเมริการเหนือและยุโรปครับ รูปร่างเจ้ากิ้งก่าตัวนี้มีความยาววัดจากหัวถึงหางประมาณ 12 เมตร ลักษณะทางกายภพส่วนใหญ่ก็ใกล้เคียงกันกับเพื่อนนักล่าร่วมอันดับของมันครับครับ นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ของผู้ที่เข้ารอบครองอันดับ 10 ทั้ง 2 ตัว เรามาต่อกันที่อันดับต่อไปเลยครับ

อันดับที่ 9
ไทรันโนไททัน (Tyranotitan)
.....สำหรับอันดับที่
9 ผู้ที่เข้ารอบก็คือเจ้า ไทรันโนไททัน ครับ เป็นไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้ออีกชนิดหนึ่งที่เคยครองผืนดินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ ย้อนไปเมื่อปี ค..2005 ที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยผู้ที่ค้นพบคือ เฟอร์นันโด โนวาส (Fernando E.Novas) และลูกทีมของเขา สำหรับไทรันโนไททัน มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 121 ล้านปีก่อน หรือในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้นครับ จากการที่เพิ่งมีการค้นพบฟอสซิลได้มาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ทำให้ยังไม่ทราบข้อมูลของมันมากเท่าไหร่ครับ หากวัดขนาดความยาวจากหัวถึงปลายหางแล้ว ไทรันโนไททันมีความยาวประมาณ 12.2 เมตรครับ ด้วยความยาวขนาดนี้ ทำให้สัตว์กินเนื้อนักล่าชนิดนี้ครอบครองอันดับที่ 9 ได้อย่างสบายๆ เลยครับ

อันดับที่ 8 มาพิวซอรัส (Mapusaurus)
.....มาพิวซอรัสนั้นอาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี ค
..1997 จากโครงการความร่วมมือระหว่างอาร์เจนตินาและแคนาดา มาพิวซอรัสนั้นมีความยาวประมาณ 12.6 เมตรครับ เฉือนชนะไทรันโนไททันไปอย่างเฉียดฉิว


อันดับที่
7
ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex)
.....และแล้วอันดั
บนี้ก็มาถึงไดโนเสาร์ตัวโปรดของเด็กๆ และใครอีกหลายคนครับ กล่าวได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลก ด้วยอิมเมจที่ดู ดุดัน น่าเกรงขาม และทรงพลัง ทำให้เจ้าตัวนี้เข้ามาอยู่ที่อันดับ 7 ไปอย่างไม่ยากเย็นครับ มีการนำเอาคาแร็กเตอร์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ก็หลายครั้ง แต่ที่โด่งดังที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่อง จูราสสิค พาร์ค นั่นเองครับ เรามาทำความรู้จักกับ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ (T-Rex) กันเลยครับ ทีเร็กซ์นั้นมีการค้นพบกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค..1905 ที่อเมริกาและมีการค้นพบกันมาเป็นระยะ มีการค้นพบซากฟอสซิลแบบสมบูรณ์ก็หลายครั้งเช่นกันครับ ทีเร็กซ์นั้นอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น หรือประมาณ 75 ล้านปีก่อน มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 12.8 เมตรครับ ด้วยกะโหลกที่ใหญ่ ขากรรไกรกว้างกว่าเมตร ทำให้ทีเร็กซ์นั้นดูเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามทีเดียว แรกเริ่มเดิมทีนั้นคิดกันว่า ทีเร็กซ์ เป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ทฤษฎีนั้นก็ได้ถูกลบล้างไปตามครรลองของวิทยาศาสตร์ เมื่อมีทฤษฎีใหม่ๆ พร้อมด้วยหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์ นั้นไม่ได้เป็นสัตว์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดอีกต่อไปเมื่อเจอเข้ากับผู้ท้าชิงรายใหม่ๆ ที่มีการค้นพบกัน และทฤษฎีที่ว่าทีเร็กซ์นั้นเป็นสัตว์นักล่า ก็โดนทฤษฎีที่กล่าวว่า จริงๆ แล้วมันอาจจะเป็นเพียงแค่สัตว์กินซากเท่านั้นก็เป็นได้ โดยมีการนำตัวอย่างซากฟอสซิลมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องเหล่านี้ และก็พบกับข้อมูลบางอย่างที่เราไม่เคยรู้กันเลยครับ ว่าทีเร็กซ์นั้น ไม่น่าจะเป็นสัตว์นักล่าที่วิ่งไล่จับเหยื่อเหมือนอย่างที่เราเห็นในภาพยนตร์ จากการวิจัยพบว่า กระดูกขาของทีเร็กซ์และจำนวนมัดกล้ามนั้น ไม่น่าเพียงพอต่อการรับน้ำหนักอันมหาศาลของตัวมันเองในการที่จะวิ่งไล่จับเหยื่อ หรือพูดง่ายๆ ว่า ขามันไม่แข็งแรงพอนั่นเองครับ อีกประการหนึ่งก็คือ มือของทีเร็กซ์เองนั้น แน่นอนว่าใช้ประเทศในการจับยึดไม่ได้แน่นอน เพราะขนาดอันเล็กมาก จนแทบจะใช้ทำอะไรไม่ได้เมื่อเทียบกับขนาดของตัวมันเอง มีเพียงแต่กราม ขากรรไกรและฟันอันแหลมคมเท่านั้นที่เหมาะจะเป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองครับ ทำให้เกิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมาว่า ทีเร็กซ์ นั้นเป็นแค่สัตว์กินเนื้อหรือกินซากเท่านั้นครับ ซึ่งอาจคล้ายกับหมาไนในปัจจุบัน และน่าจะซุ่มโจมตีเหยื่อมากกว่าที่จะวิ่งไล่ให้เหนื่อยแรง (จากภาพยนตร์ทีมีตัวละคร ทีเร็กซ์ ก็มักจะมีฉากที่ว่า ทีเร็กซ์พุ่งออกมาจากป่า ไม่ได้วิ่งมาไล่เหยื่อเป็นกิโลๆ เลยแฮะ) ครับ...นี่ก็เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่มีการกล่าวถึงทีเร็กซ์ในอีกรูปแบบที่เราไม่ค่อยได้เห็นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มาจากการศึกษาและวิจัย โอกาสที่จะนำหลักฐานและข้อมูลมาหักล้างกันนั้นก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ หากมีหลักฐานหรือข้อมูลชิ้นใหม่ๆ มานำเสนอกัน สำหรับตอนที่ 1 นี้ก็คงจะเอาไว้แค่นี้ก่อนครับ ร่ายมาซะยาวเลย อาจจะอ่านกันเมื่อยเล็กน้อย สำหรับตอนต่อไปจะนำเสนอให้กระชับลงซักหน่อยครับ ....คอยติดตามต่อ 10 อันดับไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดกันไปในตอนที่ 2 นะครับ

5 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับบทความดีดีแบบนี้

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณที่เข้ามารับชมครับ ^^

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีมากๆเลยค่ะ

ไม่บอก กล่าวว่า...

ถึงจะไม่รู้จักหลายตัวแต่ก็รู้ว่าไทรันโนจังน่ะแพ้สไปโนชัวเฮ้อๆๆๆ

BlackAngel กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ ในใจแอบเชียร์ สไปโนซอ

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...