Ads by Adyim

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีหกช่วงคน (Six degrees of separation)

     สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากไม่ได้อัพเดตมาเสียนาน เรื่องราวหรือบทความที่นำมาให้อ่านกันคราวนี้ เป็นเรื่องเบาๆ ครับ ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีหนึ่งโดยมีแนวคิดอันน่าทึ่งว่า คนทุกคนบนโลกนี้สามารถรู้จักกันระหว่างเพื่อนหรือคนกลางต่อไปอีกแค่ 6 คนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เช่น นาย A อาจจะรู้จักกับดาราฮอลลีวู้ด B ได้โดยผ่านการรู้จักกับระหว่างเพื่อนอีกไม่เกิน 6 ช่วงคน ียว เรามาติดรายละเอียดกันดีกว่าครับ ว่าเจ้าทฤษฎีนี้มันมีความเป็นมายังไงวนี้ เป็นเรื่องเบาๆ ครับ อาจจะ ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่เล่นทีเดียวครับ แต่อธิบายแบบนี้อาจจะงงได้ เอาเป็นว่าเรามาติดรายละเอียดกันดีกว่าครับ ว่าเจ้าทฤษฎีนี้มันมีความเป็นมายังไง  
   
      โลกกลมๆ สีฟ้าใบนี้ของเรา หากจะบอกว่ากว้างมั๊ย มันก็กว้างใหญ่ไพศาลอยู่นะครับ แต่หากจะบอกว่าแคบ มันก็แคบอยู่เหมือนกันนะครับ ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคล ว่ามีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไรอย่างเช่น บางทีเราไปเจอคนรู้จักในที่ที่คาดไม่ถึง อย่างเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ เราก็มักจะคิดว่าโลกแคบจังหรือไม่ก็โลกมันช่างกลมเสียจริง อุตสาห์มาเที่ยวตั้งไกล ยังมาเจอคนรู้จักกันที่นี่เสียได้ แปลกดี ที่เกริ่นมานี่ก็ไม่ใช่อะไรครับ จะให้เข้ากับเรื่องราวที่นำมาเสนอกันตอนนี้นั่นเอง
เอาเป็นว่าเชิญติดตามอ่านกันได้เลยครับ
    
      ทฤษฎีหกช่วงคน
(Six Degrees of Separation) นั้นถูกคิดขึ้นและนำมาเขียนเป็นเรื่องสั้นที่ชื่อว่า ห่วงโซ่ (Chains) ในปี ค.ศ.1929 โดย นักประพันธ์ นักเขียน และกวีชาวฮังการี นามว่า ฟริกเยส คารินธี (Frigyes Karinthy) แต่กว่าจะมาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและโด่งดังไปทั่วก็อีกหลายสิบปี ต่อมา หลังจากที่ถูกนำไปสร้างเป็นบทละครเพลงของบรอดเวย์ในปี ค.ศ.1990 จากฝีมือเขียนบทของ จอห์น กรัวว์ (John Guare) นั่นเองครับ

ตัวอย่างของ Six Degrees of Separation ที่ A จะรู้จักกับ B ไม่เกิน 6 ช่วงคน
     แนวคิดของไอเดียของทฤษฎีหกช่วงคนนี้กล่าวถึงแง่ของความเป็นไปได้ว่า บุคคลทุกคนในโลกนี้นั้นสามารถรู้จักกัน หรืออาจจะรู้จักกันได้โดยผ่านตัวกลางที่เป็นเพื่อนหรือคนรู้จักอีกไม่เกิน 6 คนเท่านั้น เช่น นาย A อาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่อาจจะรู้จักกับนาย B ที่อยู่ประเทศอเมริกาได้โดยผ่านเพื่อนของเราหรือเพื่อนของเพื่อนต่อไปอีก 4-5 คนเท่านั้นครับ
     ยกตัวอย่างเช่น บี้ เดอะสตาร์ อาจจะสามารถรู้จักกับซูปเปอร์สตาร์ฮอลลีวู้ด ทอม แฮงค์ได้ โดยผ่านคนรู้จัก เพื่อน หรือคนกลางอีกไม่เกิน 6 คนเท่านั้น บี้กะแฮงค์ อยู่คนละซีกโลกแบบนี้ เรื่องแบบนี้จะเป็นไปได้หรือ ? แนวคิดนี้ได้ให้คำอธิบายเอาไว้แบบนี้ครับ
     [1.] บี้ เดอะ สตาร์ รู้จักกับ บอย ถกลเกียรติ
     [2.] บอย ถกลเกียรติ ได้กำกับละครเพลง Broadway และรู้จักกับดารานำหญิง
     [3.] ดารานำหญิง เคยร่วมงานเป็นตัวประกอบหนังของเควิน เบค่อน (Kevin Beacon)
     [4.] เควิน เบค่อนเคยแสดงนำภาพยนตร์เรื่องอพอลโล 13 กับ ทอม แฮงค์ (Tom Hanks)
     สรุปแล้วก็คือว่า บี้ เดอะ สตาร์ อาจจะสามารถรู้จักกับ ทอม แฮงค์ได้ใน 4 ช่วงคนดังที่กล่าวนี้ครับ แต่ทั้ง บี้ แล้วก็ แฮงค์ นั้น ต่างก็อยู่ในวงการบันเทิงเหมือนกัน ตัวอย่างนี้ก็อาจจะดูง่ายเกินไป แต่ก็อธิบายแนวคิดนี้ออกมาได้ดีพอสมควรครับ
       ทฤษฎีหกช่วงคนนี้ก็มีแนวคิดสอดคล้องกับทฤษฎีโลกใบเล็ก (Small World Problem) และทฤษฎีโลกย่อส่วน (Shrink World) ด้วยเช่นกันครับ กลายเป็นว่าทุกคนในโลกนี้มีจุดเชื่อมถึงกันหมด โดยมีตัวอย่างคือคนรู้จักหรือรู้จักกันผ่านเพื่อนเป็นช่วงๆ คนไปนั่นเองครับ หากจะบอกว่าโลกแคบก็คงจะไม่ผิดอะไร


  สำหรับในแวดวงวิชาการก็มีนักวิชาการบางท่านที่ให้ความสนใจและลงมือทำการ ทดลองและวิจัยในเรื่องแนวคิดของทฤษฎีนี้อย่างจริงจังอยู่เหมือนกันครับ โดยในปีค.ศ.1961 ไมเคิล กัวร์วิช (Michael Gurevich) นักศึกษาปริญญาเอกของสถาบันเทคโนโลยีแมตซาซูเซตส์ (MIT) ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างเครือข่ายของสังคมโดยการรวบรวมของข้อเชิง ตัวเลขที่เกี่ยวกับแนวคิดนี้เอาไว้ และต่อมานักคณิตศาสตร์ แมนเฟร็ด โคเชน (Manfred Kochen) ได้นำเอาข้อมูลของ ไมเคิล มาทำการวิเคราะห์ต่อโดยใช้จำนวนพื้นฐานของประชากรอเมริกันเป็นหลัก แนวคิดนี้ได้ถูกนำมาต่อยอดสืบสานจากบรรดานักวิชาการอีกหลายท่าน อาทิเช่น แสตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มิลแกรมสนใจเรื่องทฤษฎีโลกใบเล็ก และทำงานวิจัยออกมาจนเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันมากขึ้น ในปีค.ศ.1967

นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ก็มีมาแล้ว
     ในหนังฝรั่งหรือซี รี่ยส์อีกหลายๆ เรื่องครับ ที่นำเอาแนวคิดของทฤษฎีนี้ไปเล่น เช่น ซีรี่ยส์เรื่อง Six Degrees เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าบ้านเราได้นำเข้ามาดูกันหรือเปล่า และซีรี่ยส์ดังเรื่อง ลอสต์ (Lost) หนังที่ว่าด้วยเรื่องของบรรดาผู้ที่รอดมาจากเครื่องบินตกแล้วติดเกาะอยู่ด้วยกัน ของผู้กำกับอย่าง เจเจ อับบรามส์ (J.J.Abrams) เองก็เอาแนวคิดนี้มาใช้ประกอบเรื่องด้วยเหมือนกันครับ หรือแม้แต่ วิลล์ สมิธ (Will Smith) ก็ยังเคยนำแสดงเรื่อง Six Degrees of Separation ในปี 1993 ด้วยเช่นกันครับ
Six Degree of Kevin Beacon
      ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีคนเอาทฤษฎีนี้มาใช้ทำเป็นเกมกับ เควิน เบคอน (Six Degree of Kevin Beacon) ที่เขาล้อว่ากันว่าหมอนี่เป็นศูนย์กลางของวงการฮอลลีวู้ด เลยมีการทำการทดลองจากจำนวนคนจำนวน 100,000 คน ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของเควิน เบคอนนั้น อยู่ที่ 2 กว่าๆ เท่านั้นเอง นับว่าเป็นเรื่องที่น่าพิศวงดีทีเดียวครับ
      มีบริษัท lemon ly ลองทำเกมเควิน เบคอนมาให้ดูเล่นๆ โดยโยงเข้ากับบรรดาโซเชี่ยล เน็ตเวิร์คทั้งหลายที่บรรดาคนดังทั้งหลายพาไปกันลงทะเบียนได้ ลงกดดูรูปของเควิน เบคอนซิครับ มีทั้งคนที่เขาไม่น่าจะรู้ได้เลยในสายงานของเขา แต่ก็ดันบังเอิญรู้จักกันได้ (ถ้าหากว่าเขาอยากรู้จักกัน) ไม่เกินหกช่วงคนซะด้วยซิครับ อย่าง เลดี้กาก้า ไทเกอร์วู้ด
เป็นต้น ก็เป็นการพัฒนาการเล่นเกมของเควินเ เบคอนไปอีกระดับโดยใช้พวกโซเชี่ยล เน็ตเวิร์คเข้ามาช่วย

   สำหรับข้อมูลและเรื่องราวของทฤษฎีหกช่วงคนนั้น ก็คงจะจบลงเท่านี้ก่อนครับ เอาไว้ติดตามบทความเรื่องต่อไปแล้วกันครับว่าจะเป็นเรื่องอะไร จนกว่าจะถึงคราวหน้าครับ


Credits :
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Six_degrees_of_separation
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Six_Degrees_of_Separation_%28play%29
3. http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Six_Degrees_of_Separation.htm
4. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3480b7964027bf6d

1 ความคิดเห็น:

ptsccuttingtool กล่าวว่า...

สุดยอดครับ

ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...