Ads by Adyim

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

Ooparts Chapter 1 : Baghdad Battery

.....ตอนนี้มาคุยกันเรื่อง Ooparts (Out of place artifacts) ดีกว่าครับ หรือ โอพาร์ทส นั่นเอง โดย Ooparts นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกวัตถุหรือสิ่งของที่หลงยุคหลงสมัยในทางโบราณคดีหรือไม่น่ามีขึ้นได้ในทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นๆ โดยถ้าเรียงลำดับตามช่วงเวลาและความรู้ทางด้านเทคโนโลยีตามยุคสมัยแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถสร้างขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน Ooparts หลายๆ ชิ้นได้พิสูจน์เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าไม่ได้เก่าแก่หรือน่าพิศวงอย่างที่เคยเชื่อกัน แต่เป็นเพียงแค่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันไปเองหรือเป็นเพียงแค่ของที่ทำขึ้นมาใหม่เท่านั้น แต่ก็มีอีกหลายชิ้นที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดครับว่า เป็นของที่ทำขึ้นมาใหม่ คำว่า Ooparts นี้ถูกตั้งขึ้นโดยนักสัตววิทยาและธรรมชาติชาวอเมริกัน ไอแวน ที แซนเดอร์สัน (Ivan T Sanderson) ครับ
.....ลองมาดูตัวอย่าง
Ooparts กันครับ ประเดิมชิ้นแรกด้วย แบตเตอรี่จากแบกแดด (Baghdad Battery) หรือแบตเตอร์รี่พาร์เธี่ยน(Parthian Battery) นั้นถูกค้นพบเมื่อปี ค..1936 ที่หมู่บ้านคธูจัตราบู ใกล้เมืองแบกแดดประเทศอิรัก จากการตรวจสอบแล้วพบว่า แบตเตอร์รี่นี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงยุคเมโสโปเตเมีย ช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนประกอบของแบตเตอร์รี่แบกแดดนั้น ประกอบไปด้วย ไห ท่อทองแดงและแท่งโลหะครับ โดยตัวไหนั้นทำมาจากดินเหนียว สูงประมาณ 5 นิ้ว ภายในประกอบไปด้วยท่อทองแดงทรงกระบอก โดยมีแท่งโลหะอยู่ตรงกลาง ในไหนั้นคาดว่ามีการเติมสารละลาย (Electrolyte) เข้าไปภายใน ซึ่งอาจจะใช้น้ำส้มสายชูหรือไม่ก็น้ำองุ่นครับ ในปี ค..1938 ภายหลังจากการค้นพบและนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิรัก และได้ถูกนำไปทดลองพิสูจน์ โดยนักโบราณคดี วิลเฮล์ม โคนิก (Whilhem Konig) ได้ทำการจำลองแบบชุดแบตเตอร์รี่นี้ขึ้นมา ซึ่งภายหลังการศึกษาและทดสอบ พบว่าแบตเตอร์รี่อายุกว่า 2,000 ปีชิ้นนี้นั้นสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนๆ ได้ถึง 2 โวลท์โดยประมาณ ด้วยไฟขนาดนั้นก็สามารถทำให้หลอดไฟเล็กๆ ติดสว่างได้แล้วล่ะครับ
.....ในการลงตีพิมพ์ในวารสารของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิรัก จาก โคนิก ในปี ค..1940 ได้ระบุเอาไว้ว่า แบตเตอร์รี่จากแบกแดด นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ชุบเงินหรือทองสำหรับเครื่องประดับโดยใช้หลักการของกระบวนการชุบเคลือบผิว (Electroplating) เพื่อนำมาใช้สำหรับงานและพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่น่าแปลกก็คือ กว่าที่ต้นแบบของแบตเตอร์รี่ไฟฟ้านั้นจะถูกคิดค้นและนำมาใช้งานได้ โดย อเล็กซานเดอร์ โวลต้า (Alexander Volta) ก็ตั้งเมื่อปี ค..1800 เป็นต้นมานี่เองครับ แล้วเจ้าอุปกรณ์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชิ้นนี้มีขึ้นมาได้อย่างไร แล้วใครเป็นคนค้นคิดขึ้นมา จนถึงปัจจุบันนี้ คำถามเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอนครับ แต่ก็มีบางทฤษฎีที่บอกว่า เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้อาจจะไม่ได้ทำขึ้นเพื่อใช้สร้างกระแสไฟฟ้าแต่อาจจะนำมาใช้เพื่อเก็บรักษาแผ่นปาปิรัส โดยการเก็บแช่ใส่ไหเอาไว้เพื่อไม่ให้มันสูญสลายไปตามกาลเวลา หรือไม่ก็เป็นเพียงเครื่องมือเอาไว้สำหรับเก็บรักษาสิ่งของธรรมดาเท่านั้น ปริศนาความลับของเจ้าไหพิศวงนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ลี้ลับมาจนบัดนี้ครับ อย่าลืมติดตามบทความเรื่อง Ooparts ตอนที่ 2 นะครับ มาดุกันว่าตอนต่อไปจะเป็นเรื่องอะไร ไม่นานเกินรอครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...